Week 15-16: ระบบสมการเชิงเส้น

เป้าหมายรายสัปดาห์เข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์แบบรูปความสัมพันธ์จากแบบรูปของสมการเชิงเส้นได้ และสามารถแก้สมการเชิงเส้นโดยใช้สมบัติของการเท่ากันได้ตลอดจนเขียนสมการเชิงเส้นแทนสถานการณ์หรือปัญหาอย่างง่ายและแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้น และนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้แก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome






15 - 16

1 - 12
 ก.ย. 2558


โจทย์
ระบบสมการเชิงเส้น
Key  Questions
นักเรียนคิดว่ากราฟที่เกิดขึ้นจากสมการ และจุดตัด จากสมการต่อไปนี้
1) x + y = 7
2) x - y = 3
ให้นักเรียนเขียนกราฟ แล้วหาว่าระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรต่อไปนี้ มีคำตอบเดียวหรือไม่มีคำตอบ
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับวิธีคิดการหาคำตอบจากสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติการเท่ากับของสมการ 2 สมการ
Brainstorm
- ร่วมกันคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการแก้ปัญหาสมการเชิงเส้น
Wall Thinking
- ติดชิ้นงานเกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาพเกี่ยวกับโจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- รูปทรงแบบรูปและความสัมพันธ์
- คอมพิวเตอร์ โปรแกรมGSP
ชง  ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตสองมิติ และรูปเรขาคณิตสามมิติ
- นักเรียนร่วมเล่าเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เรียนผ่านมา ครูยกตัวอย่างโจทย์เกมกิจกรรมเดิม 
ทบทวนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
- ครูพานักเรียนเล่นเกม รูปต่อไปนี้ คือ
เชื่อม นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและนำเสนอวิธีคิด
- เพื่อนๆ และครูผู้สอนช่วยกันร่วมอภิปรายวิธคิดที่แตกต่าง ร่วมตั้งคำถามเพื่อให้เพื่อนที่นำเสนอได้อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นำเสนอวิธีการที่แตกต่าง แบบรูปและความสัมพันธ์(pattern) ถัดไป ตามความเข้าใจของเพื่อนๆ ที่นำเสนอแตกต่าง
- ครูอธิบายความเข้าใจของความสัมพันธ์ผ่านโปรแกรมGSP
ใช้ นักเรียนทำใบงานแบบรูปและความสัมพันธ์ ตามโจทย์ที่กำหนดให้และสร้างโจทย์ขึ้นมาเอง
ชง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่า หรือ 4 เป็นคำตอบของสมการ x - 2 = 6 หรือไม่?
 เชื่อม นักเรียนร่วมเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม ทุกคนเขียนตัวอย่างโจทย์
วิธิคิด.
“พิจารณาสมการ x - 2 = 6
แทนค่า x = 8 จะได้ 8 - 2 = 6 ทำให้สมการเป็นจริง
แทนค่า x = 4 จะได้ 4 - 2 ไม่เท่ากับ ทำให้สมการเป็นเท็จ
ดังนั้น 8 เป็นคำตอบของสมการ x - 2 = 6
- นักเรียนลองตั้งโจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวให้เพื่อนๆ ฝึกทำ
ชง ครูพานักเรียนฝึกทำโจทย์สถานการณ์การคิด สมบัติการเท่ากัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสมการสองสมการที่จะเท่ากัน จะมีความสัมพันธ์อย่างไร?”
เชื่อม นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับผลลัพธ์ของสมการทั้ง ข้อ จากการนำเสนอความเข้าใจของแต่ละคน
- เพื่อนๆ และครูผู้สอนช่วยกันร่วม
อภิปรายวิธคิดที่แตกต่าง ร่วมตั้งคำถามเพื่อให้เพื่อนที่นำเสนอได้อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ นักเรียนเขียนโจทย์ที่กำหนดให้เป็นการบ้านflip classroom สมบัติการเท่ากันของสมการและการแก้ปัญหาโจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- การ์ตูนถ่ายทอดความเข้าใจสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- เขียนสรุปชาร์ตการแก้โจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ชง : ครูให้นักเรียนคิดโจทย์สมการเชิงเส้นสองตัวแปร ต่อไปนี้
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงวิธีิดและเขียนกราฟลงในกระดาษกราฟ
ภาพที่เกิดขึ้นดังกล่าวครูช่วยจัดระบบข้อมูลก่อนให้นักเรียนตรวจสอบความเข้าใจอีกครั้ง
ชง : ครูให้นักเรียนคิดโจทย์สมการเชิงเส้นสองสมการต่อไปนี้ 3 ข้อ
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์โจทย์สมการดังกล่าวพร้อมกับหาเหตุผลมาอธิบายทางตรรกศาสตร์
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามพร้อมกับร่วมตรวจสอบความเข้าใจกับนักเรียน เพราะโจทย์ทั้ง 3 ข้อ มีเหตุผลที่ต่างกันออกไปในหาผลเฉลย(ข้อ 1 เกิดจุดตัด, ข้อ 2 เส้นทับซ้อน, ข้อ 3 เส้นไม่เกิดจุดตัด)
ใช้ : ครูให้นักเรียนทำใบงานเกี่ยวสมการเชิงเส้น "ให้นักเรียนเขียนกราฟ แล้วหาว่าระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรต่อไปนี้ มีคำตอบเดียวหรือไม่มีคำตอบ" 
- ครูให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับการเขียนสมการผ่านGSP (Flip-classroom)
ภาระงาน
- นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตสองมิติ และรูปเรขาคณิตสามมิติ
- นักเรียนนำเสนอความเข้าใจวิธีคิดที่นำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ
- สังเกตแบบรูปความสัมพันธ์เพิ่มเติม จากโปรแกรมGSP จากครูอธิบาย
- ทำชิ้นงานการ์ตูน/ใบงานเกี่ยวกับสมการเชิงเส้น

ชิ้นงาน
- ใบงานเกี่ยวกับการแก้ปัญหาสมการเชิงเส้น
- ชาร์ตถ่ายทอดความเข้าใจและการ์ตูนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้สมการเชิงเส้น

ความรู้
การวิเคราะห์แบบรูปความสัมพันธ์จากแบบรูปของสมการเชิงเส้นได้ และสามารถแก้สมการเชิงเส้นโดยใช้สมบัติของการเท่ากันได้ตลอดจนเขียนสมการเชิงเส้นแทนสถานการณ์หรือปัญหาอย่างง่ายและแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้น

ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ในรูปแบบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ทักษะการคิด
- นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากแบบรูปที่กำหนดให้ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
- นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบวิธีคิดและการนำเสนองานในมิติที่หลากหลาย
ทักษะการมองเห็นแบบรูป(pattern)
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่เกิดจากสมมการเชิงเส้นหลายตัวแปรได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำละเข้าใจได้

คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ทำงานอย่างมีความประณีต
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ทั้งงานกลุ่มและงานเดียว ทุกคนทำงานอย่างเต็มความสามารถ
- ส่งงานตรงเวลา เมื่อได้การบ้าน ในเช้าวันถัดมานักเรียนฝึกทำการบ้านและส่งงานทุกครั้ง
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ขณะที่มีผู้นำเสนอ คนที่รับฟังเขียนขมวดความเข้าใจลงในสมุดทดคิด

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
เริ่มต้นเรียนรู้ด้วยชั่วโมงการคิดของพี่ ม.1 โดยครูให้หาการจัดเรียงวงกลมที่ทับซ้อนกันอยู่ ครูต้องการเตรียมความพร้อมผู้เรียนก่อนเข้าสู่เนื้อหา และพาเล่นเกมจับคู่ชวนคิดเพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าสู่บทเรียนสมการเชิงเส้น
เริ่มต้นด้วยโจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวให้นักเรียนหาผลเฉลย ก่อนจะโยงเข้าสู่เนื้อหาที่ยากขึ้นและลึกขึ้นในมิติที่หลากหลาย ก่อนที่นักเรียนจะใช้สมการเชิงสองตัวแปร
ก่อนที่จะหาจุดตัดบนกราฟจากสมการดังกล่าวนี้ พร้อมกับให้เหตุผลเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นที่กำหนดให้มา และนักเรียนมีพื้นฐานเขียนโปรแกรมGSP มาแล้ว

###########################""""########################### 
... ครูอาร์ท -สอนการคิด ...
ในส่วนของสัปดาห์นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การคิด ในการหารูปสี่เหลี่ยมจากจุดรอบวงกลม จากการสังเกตุพี่ม.1 พี่ๆทุกคนมีความตั้งใจและให้ความสนใจเป็นอย่างดีถึงแม้จะเคยเรียนมาแล้วก็ตาม พี่ๆทุกคนกล้าที่จะแสดงออกและมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกิจกรรม ร่วมไปถึงสามารถอธิบายการเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจ อาทิเช่น พี่เพรช อธิบายถึง ลักษณะของรูปทรงสี่เหลี่ยม ว่ามีสี่มุมและมีรูปแบบลักษณะต่างกันไป

 
พี่ปังปอน อธิบายถึง ความเหมือนและความต่างของลักษณะรูปสี่เหลี่ยม 
ที่ครูได้ยกตัวอย่างให้ ว่ามีความเหมือนกันที่จำนวนมุมและต่างกันที่สี รูปแบบ สี่เหลี่ยมจัตุรัสกับสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด
ซึ่งโดยรวมพี่ๆทุกคนดูสนุกกับการได้คิดเพื่อหารูปสี่เหลี่ยมในลักษณะต่างที่ไม่เหมือนกัน

ถอดบทเรียนจากGSP


 
 


_ในเนื้อหาดังกล่าวครูต้องเพิ่มชั่วโมงเข้าไปอีกเพื่อให้สอดรับกับเนื้อหาที่ครบถ้วน และให้เชื่อมกับเรื่องคู่อันดับและกราฟ
ครูจัดเนื้อหาดังกล่าวทำLesson Study เพราะเนื้อหาดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำคัญของสาระการเรียนรู้พีชคณิต และเพื่อเตรียมความพร้อมสู่เนื้อหา ม.2 / ม.3 อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น